Flash:: หัวใจสีชมพู

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การผสมเทียม

การผสมเทียม
อาศัยหลักการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้และตัวเมีย โดยไม่รอการผสมตามธรรมชาติ หากแต่ใช้วิธีรีดน้ำเชื้อจากตัวผู้ แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมียในช่วงเวลาที่ เป็นสัด คือระยะที่ไข่สุก ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ สัตว์ตัวเมียก็จะตั้งท้อง

หลักการผสมเทียม

1.การรีดเก็บน้ำเชื้อ ทำได้โดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ตัวผู้หลั่งน้ำเชื้อออกมา โดยต้องพิจารณาถึง อายุ ความสมบูรณ์ของตัวผู้ ระยะเวลาที่เหมาะสม และวิธีการซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น ไก่ สุกร โค และต้องฝึกให้พ่อพันธุ์เชื่องต่อการรีดน้ำเชื้อด้วยเช่นกัน
 2.การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อตรวจหาปริมาณของตัวอสุจิ และการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูความแข็งแรง อัตราตัวเป็นและตัวตาย
3.การละลายน้ำเชื้อ เป็นการเติมน้ำยาเลี้ยงเชื้อลงในน้ำเชื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้เพียงพอ ในการแบ่งฉีดให้กับตัวเมียหลาย ๆ ตัว น้ำยาเลียงเชื้อที่เติม เช่น ไข่แดง Sodium citrate ยาปฏิชีวนt
4.การเก็บรักษาน้ำเชื้อ มี 2 แบบคือ น้ำเชื้อสด หมายถึงน้ำเชื้อที่ละลายแล้ว และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้นานเป็นเดือน แต่ถ้าเก็บที่ อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ 4 วัน อีกชนิดคือ ส่วนน้ำเชื้อแช่แข็ง หมายถึงน้ำเชื้อที่นำไปทำให้เย็นจนแข็ง แล้วนำไปเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สามารถ เก็บได้นานเป็นปี
 5.การฉีดน้ำเชื้อ สัตว์ตัวเมียที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแม่พันธุ์ ที่จะได้รับการฉีดน้ำเชื้อ จะต้องอยู่ในวัยที่ผสมพันธุ์ได้ การฉีดน้ำเชื้อ ต้องฉีดในระยะที่ตัวเมียเป็นสัด ซึ่งเป็นระยะไข่สุก สังเกตได้โดย สัตว์จะเบื่ออาหาร กระวนกระวาย ร้องบ่อย มีน้ำเมือกไหลที่อวัยวะสืบพันธุ์ และไล่ขี่ตัวอื่น หรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ
หรือ
การผสมเทียม
             การผสมเทียม หมายถึง การทำให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ ที่มนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยนำน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์ตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์ไปผสมกับไข่ของสัตว์ตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์ โดยที่สัตว์ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ 

             การผสมเทียมสามารถทำได้กับสัตว์ทั้งที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายของสัตว์ เช่น
 การผสมเทียมปลา และการปฏิสนธิภายในร่างกายของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ
การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
       สัตว์ที่มีการปฏิสนธิในร่างกายของสัตว์ ที่นิยมการผสมเทียม ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ 

       
1. การรีดน้ำเชื้อ เป็นการรีดน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์พ่อพันธุ์ที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุพอเหมาะ โดยใช้เครื่องมือสำหรับรีดน้ำเชื้อโดยเฉพาะ

       
2. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อที่รีดได้ว่ามีปริมาณของตัวอสุจิมากพอแก่การผสมเทียม และมีความแข็งแรงเพียงพอแก่การนำมาใช้หรือไม่

    
   3. การเก็บรักษาน้ำเชื้อ เป็นการเก็บรักษาน้ำเชื้อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยจะมีการเติมอาหารลงในน้ำเชื้อเพื่อให้ตัวอสุจิได้ใช้เป็นอาหารตลอดช่วงที่เก็บรักษาและเป็นการช่วยให้ปริมาณน้ำเชื้อมีมากขึ้น จะได้นำไปฉีดให้ตัวเมียได้หลาย ๆ ตัว หลังจากนั้นจะนำน้ำเชื้อที่เติมอาหารแล้วไปเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

        1.
 การเก็บน้ำเชื้อสด เป็นการเก็บน้ำเชื้อในสภาพของเหลวในที่อุณหภูมิ 4 - 5 องศาเซลเซียส จะช่วยให้น้ำน้ำเชื้อมีอายุอยู่ได้ประมาณหนึ่งเดือน แต่หากเก็บรักษาไว้ที่ อุณหภูมิ 15- 20 องศาเซียส จะเก็บรักษาได้ประมาณ 4 - 5 วัน เท่านั้น

        2.
 การเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง เป็นการเก็บน้ำเชื้อโดยแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ ต่ำ - 196 องศาเซียส จะทำให้น้ำเชื้ออยู่ในสภาพของแข็ง วิธีการเก็บแบบนี้จะช่วยให้สามารถเก็บไว้นานเป็นปี

        
4. การฉีดเชื้อให้แม่พันธุ์ เมื่อจะผสมเทียมจะนำเชื้อสด หรือน้ำเชื้อแช่แข็งออกมาปรับสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ แล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเชื้อที่เตรียมไว้ฉีดเข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ และตั้งท้อง
การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
      การผสมเทียมในสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอก นิยมทำกับสัตว์น้ำพวกปลา กุ้ง และหอย สำหรับการผสมเทียมปลานั้น ก่อนที่จะรีดน้ำเชื้อและไข่จากปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาผสมกัน จะต้องมีการเตรียมพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้พร้อมที่จะผสมพันธุ์เสียก่อน โดยการฉีด " ฮอร์โมน " เพื่อกระตุ้นให้พ่อพันธุ์ผลิตน้ำเชื้อที่สมบูรณ์ และกระตุ้นให้ไข่ของแม่พันธุ์สุกเต็มที่ ซึ่งฮอร์โมนที่ใช้เป็นฮอร์โมนที่ได้จากต่อมใต้สมองของปลา หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ก็ได้ การผสมเทียมปลานั้นมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้


วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

Microsoft Excel


Excel คืออะไร
           Excel เป็นโปรแกรมประเภทสเปรตชีท (speadsheet) หรือโปรแกรมตารางงานซึ่งใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ สูตรคำนวณ ลงบนแผ่นตารางงานคล้ายกับการเขียนข้อมูลลงไปในสมุดที่มีการตีช่องตารางทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ตารางแต่ละช่องจะมีชื่อกำกับไว้ในแนวตั้งหรือสดมน์ของตารางเป็นตัวอักษรภาษอังกฤษเล่มจาก A,B,C,...เรื่อยไปจนสุดขอบตารางทางขวา มีทั้งหมด 256 สดมภ์(Column) แนวนอนมีหมายเลขกำกับเป็นบรรทัดที่ 1,2,3,...เรื่อยไปจนถึงบรรทัดสุดท้ายจำนวนบรรทัดจะต่างกันในแต่ละโปรแกรมในที่นี้เท่ากับ 65,536 แถว(Row) ช่องที่แนวตั้งและแนวนอนตัดกันเรียกว่า เซลล์ (Cell) ใช้บรรจุข้อมูล ข้อความ หรือสูตรคำนวณ โปรแกรมประเภทสเปรตชีตมีผู้พัฒนาขึ้นมาหลายโปรแกรม เช่น ซุปเปอร์แคล (SuperCalc) วิสิแคล(VisiCalc) โลตัส 1-2-3 (Lotus 1-2-3) ออราคิล (Oracle) และไมโครซอฟท์เอ็กเซล(Microsoft Excel) ซึ่งเรียกว่า เอ็กเซล

คุณสมมบัติที่สำคัญของ Microsoft Excel
1.  ความสามารถด้านการคำนวณ Excel สามารถป้อนสูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น 

2. ความสามารถด้านใช้ฟังก์ชั่น  เช่นฟังก์ชั่นเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข วันที่ ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการเงิน หรือเกี่ยวกับการตัดสินใจ

3.  ความสามารถในการสร้างกราฟ Excel สามารถนำข้อมูลที่ป้อนลงในตารางมาสร้างเป็นการาฟได้ทันที 

4.  ความสามารถในการตกแต่งตารางข้อมูล Excel สามารถตกแต่งตารางข้อมูลหรือกราฟ ข้อมูลด้วยภาพ สี และรูปแบบตัวอัการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและทำให้แยกแยะข้อมูลได้ง่ายขึ้น

5.  ความสามารถในการเรียงลำดับข้อมูล Excel สามารถคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการมาวิเคราะห์ได้

6.  ความสามารถในการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ Excel สามารถพิมพ์งานทั้งข้อมูลและรูปภาพหรือกราฟออกทางเครื่องพิมพ์ได้ทันที ซึ่งทำให้ง่ายต่อการสร้างรายงาน

7.  ความสามารถในการแปลงข้อมูลในตารางให้เป็นเว็บเพจ เพื่อนำไปแสดงในโฮมเพจ

เข้าสู่การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel
การเรียกใช้งาน Excel
1.  คลิกที่ปุ่ม

2.  เลื่อนเมาส์ไปชี้คำสั่ง All program  

3.  เลื่อนเมาส์ไปที่ Microsoft office

4.  เลื่อนเมาส์ไปที่Microsoft office Excel คลิก

 การเริ่มใช้งานโปรแกรม

เริ่มใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
  • Office Button              เป็นปุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของแฟ้มงาน เช่น New, Open, Save, Save As, Print, Close, ฯลฯ
  • QuickAccessToolbar   เป็นแถบเครื่องมือให้คุณเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วผู้ใช้สามารถเพิ่มปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ ไว้ในแถบเครื่องมือนี้ได้
  • Title bar                       แถบแสดงชื่อโปรแกรมและชื่อไฟล์ปัจจุบันที่คุณเปิดใช้งานอยู่
  • แถบ Ribbon                 เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งต่างๆ ของเมนูหรือทูลบาร์ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้งานง่ายขึ้น
  • Name box                    แสดงตำแหน่งเซลล์ปัจจุบัน
  • Formula bar                 แถบแสดงสูตรคำนวณหรือข้อมูลที่คุณพิมพ์
  • Active cell                   เซลล์ปัจจุบันที่กำลังทำงานอยู่
  • Worksheet                  พื้นที่ใช้งานของโปรแกรม
การเพิ่มปุ่มทูลบาร์ใน Quick Access Toolbar 

1. ปุ่มทูลบาร์ที่ต้องการใช้งานบ่อยๆ คุณสามารถเพิ่มเข้ามาใน Quick Access Toolbar ได้ มีขั้นตอนดังนี้


2. เลือกคำสั่งที่ต้องการใช้บ่อย เช่น New, Open, Print Preview,Quick Print, ฯลฯ



การยกเลิกปุ่มทูลบาร์ใน Quick Access Toolbar

ปุ่มทูลบาร์ที่เพิ่มเข้ามาแล้วไม่ต้องการใช้งาน คุณสามารถยกเลิกออกได้ มีขั้นตอนดังนี้
  • คลิกขวาในแถบ Quick Access Toolbar จะปรากฏคำสั่งให้เลือกใช้
  • ต้องการยกเลิกปุ่มทูลบาร์ให้เลือกคำสั่ง Remove from Quick Access Toolbar
การป้อนข้อมูล มี 3 วิธี
  • พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter
  • พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่ม Arrow key (ลูกศรสี่ทิศ) ที่คีย์บอร์ด
พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม  Enter บน Formula bar

การยกเลิกข้อมูลที่กำลังพิมพ์ มี 2 วิธี

วิธีที่ 1    กดปุ่ม Esc ที่คีย์บอร์ด
วิธีที่ 2    คลิกปุ่ม  Cancel บน Formula bar
การแก้ไขข้อมูล มี 3 วิธี
  • เลือกตำแหน่งเซลล์ที่ต้องการแก้ไขข้อมูล
วิธีที่ 1    กดปุ่ม F2 ที่คีย์บอร์ด
วิธีที่ 2    คลิกตำแหน่งที่จะแก้ไขบน Formula bar
วิธีที่ 3    ดับเบิ้ลคลิกที่ตำแหน่งเซลล์นั้น

  • ทำการแก้ไขข้อมูล เสร็จแล้วกด Enter
การลบข้อมูล มี 3 วิธี    
  • เลือกตำแหน่งเซลล์ที่ต้องการลบข้อมูลวิธีที่ 1   กดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด

  • วิธีที่ 2   คลิกขวาเลือกคำสั่ง Clear Contents
    วิธีที่ 3   ที่แท็บ Home คลิกลูกศรลงของปุ่มClear จะปรากฏคำสั่งให้เลือกใช้

    การบันทึกเอกสารลงใน disk 

    เมื่อคุณสร้างแฟ้มงานเสร็จแล้ว ต้องทำการบันทึกข้อมูลลงใน disk มีขั้นตอนดังนี้            
     
    1. คลิกปุ่ม   Save บนแถบ Quick Access Toolbar หรือคลิกปุ่ม  Office Button เลือกคำสั่ง Save หรือ Save As ก็ได้ 
    2. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Save As ให้กำหนดรายละเอียด

     การใช้งานแผ่นงานและตาราง

    การทำงานกับแผ่นงาน (Sheet)

    ปกติแฟ้มงานของ Excel จะแสดง Worksheet 3 sheet ให้ใช้งาน ถ้าต้องการเพิ่ม sheet, ลบ sheet, copy sheet, ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้
    • คลิกขวาชื่อ sheet ที่ต้องการ จะปรากฏคำสั่งให้เลือกใช้

    การเลือกช่วงข้อมูล

    ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามกับข้อมูลใน Worksheet อย่างแรกที่ต้องทำคือ การเลือกช่วงข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธี ดังนี้

    วิธีการเลือกสัญลักษณ์ของเมาส์
    เลือกข้อมูลแบบเป็นช่วงวางเมาส์เป็นรูป  drag คลุมข้อมูลที่ต้องการ
    เลือกข้อมูลแบบเป็นช่วงห่างกัน
    Drag คลุมข้อมูลช่วงแรก กดปุ่ม Ctrl+drag คลุมช่วงอื่นๆ
    เลือกข้อมูลทั้งคอลัมน์ ทั้งแถวคลิกส่วนหัวคอลัมน์ หรือหัวแถวที่ต้องการ 
    เลือกข้อมูลหมดทั้ง sheetคลิกจุดตัดระหว่างหัวคอลัมน์กับหัวแถว

    การใช้งานตาราง
    ในกรณีที่คุณทำงานกับตาราง แล้วต้องการแทรกข้อมูล หรือลบตาราง มีขั้นตอนดังนี้
    • เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการ เช่น คอลัมน์ C ถึง E
    • คลิกขวาหัวคอลัมน์ / แถว จะปรากฏคำสั่งให้เลือก
      Insert                               แทรกคอลัมน์ / แถว
      Delete                             ลบคอลัมน์ / แถว
      Column Width                ปรับความกว้างของคอลัมน์
      Hide                                ซ่อนคอลัมน์ / แถว
      Unhide                            ยกเลิกการซ่อนคอลัมน์ / แถว
      หรือ ใช้ปุ่มเครื่องมือในการทำงานก็ได้ ที่แท็บ Home เลือกจากหัวข้อ Cells           

    การจัดรูปแบบข้อมูลในแผ่นงาน
    • เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการ
    • แถบ Ribbon ชื่อ Home คลิกปุ่มเครื่องมือบนทูลบาร์

    หรือจัดรูปแบบข้อมูลโดยการใช้เมนู มีขั้นตอนดังนี้
    • เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการ
    • คลิกขวาเลือกคำสั่ง Format Cells
           Number            จัดรูปแบบตัวเลข
           Alignment        การจัดวางข้อความ
           Font                 ชนิดของตัวอักษร
           Border             กำหนดเส้นขอบ
           Fill                   กำหนดสีพื้นและลาย
           Protection       ป้องกันการแก้ไขข้อมูล

    • กำหนดรายละเอียดเสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
    • การจัดรูปแบบตามเงื่อนไข
      การจัดรูปแบบแบบมีเงื่อนไข
                บางครั้งคุณต้องการกำหนดเงื่อนไขในการจัดรูปแบบข้อมูล  เช่นตัวเลขของเงินเดือนพนักงานให้เป็นสีน้ำเงินเฉพาะคนที่เงินเดือนไม่เกิน 40000 ให้ใช้เรื่องของ Conditional Formatting มีขั้นตอนดังนี้
      1.เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการจัดรูปแบบ จากตัวอย่างเงื่อนไขด้านบน ใช้ช่วงข้อมูลของ Salary ไม่รวมหัวข้อ (เลือกช่วงข้อมูลตำแหน่ง G2-G115)2.แถบ Ribbon ชื่อ Home หัวข้อ Styles คลิกปุ่ม3.จะปรากฏคำสั่งให้เลือกใช้
      4.ในที่นี้เลือกคำสั่ง New Rule  จะปรากฎไดอะล็อกบ็อกซ์ New Formatting Rule เลือก Format only cells that contain  กำหนดเงื่อนไขเอง จากตัวอย่างเลือกเป็น Cell Value  less than or equal to 40000 คลิกปุ่ม Format เลือกรูปแบบตัวอักษรที่ต้องการ คลิกปุ่ม OK
      การเปลี่ยนเงื่อนไขหรือรูปแบบที่กำหนด

                หลังจากคุณกำหนดเงื่อนไขในการจัดรูปแบบข้อมูลแล้ว ต้องการเปลี่ยนเงื่อนไขจากเดิม เป็น ตัวเลขของเงินเดือนพนักงานให้จัดรูปแบบโดยเปลี่ยนสีพื้นเป็นสีเหลือง เฉพาะคนที่เงินเดือนตั้งแต่ 30000-50000 คุณสามารถแก้ไขได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
      1.เลือกช่วงข้อมูลเดิมที่ทำการจัดรูปแบบไว้2.แถบ Ribbon ชื่อ Home หัวข้อ Styles คลิกปุ่ม                     3.เลือกคำสั่ง Manage Rules คลิกปุ่ม Edit Rule

      4.จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Edit Formatting Rule ให้แก้ไขรายละเอียด เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK


      การลบรูปแบบข้อมูลที่กำหนดเงื่อนไข
      ช่วงข้อมูลที่มีการจัดรูปแบบตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ เมื่อไม่ได้ใช้งานแล้ว คุณสามารถทำการยกเลิกเงื่อนไขนั้นได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
      1.เลือกช่วงข้อมูลเดิมที่ทำการจัดรูปแบบไว้2.แถบ Ribbon ชื่อ Home หัวข้อ Styles คลิกปุ่ม                     3.เลือกคำสั่ง Clear Rules ในที่นี้เลือกคำสั่ง Clear Rules from Selected Cells

      การค้นหาเซลล์ที่มีการจัดรูปแบบตามเงื่อนไข
      1.แถบ Ribbon ชื่อ Home หัวข้อ Editing คลิกปุ่ม

      2.เลือกคำสั่ง Conditional Formatting
      3.จะแสดงช่วงข้อมูลที่มีการกำหนดเงื่อนไขให้ทันที
       การทำงานกับกราฟ
      การสร้างกราฟ

               ข้อมูลในโปรแกรมExcelส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขถ้าคุณนำตัวเลขเหล่านั้นมาแสดงเป็นกราฟจะทำให้ข้อมูลของคุณดูง่ายขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

      1.เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างกราฟ ในที่นี้เลือกช่วงเซลล์ A2-B5, D2-D5

      2. 
      คลิกแท็บ Insert เลือกประเภทของกราฟจากหัวข้อ Chart จากตัวอย่างเลือกแบบ Column

      3.จะปรากฏรูปแบบย่อยให้คลิกเลือกได้ทันที
      4.จากนั้น จะแสดงรูปกราฟที่สร้างไว้ พร้อมกับแถบ  Ribbon ชื่อ Chart Tools หัวข้อ Design ให้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม


      การเปลี่ยนชนิดของกราฟ

      หลังจากสร้างกราฟเสร็จแล้ว ต้องการเปลี่ยนแบบกราฟใหม่ คุณสามารถทำได้ มีขั้นตอนดังนี้
      1.เลือกกราฟที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบ 
      2.แถบ Chart Tools  Design หัวข้อ Type คลิกปุ่ม   

      3. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Change Chart Type ให้คลิกเลือกแบบที่ต้องการ


      การลบกราฟ
      กราฟที่ไม่ใช้แล้ว ต้องการลบออก มีขั้นตอนดังนี้
      • คลิกกราฟที่ต้องการลบ กดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด
      • การใช้งานสูตรและฟังก์ชั่น
        การใส่สูตรคำนวณปกติ
        1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแสดงผลลัพธ์ จากตัวอย่างนี้  ตำแหน่งเซลล์อยู่ที่ D4
        2. พิมพ์เครื่องหมาย = แล้วตามด้วยตำแหน่งเซลล์ เช่น =D2*D3 เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter
        3. ที่เซลล์ D4 จะแสดงผลลัพธ์ และที่ Formula bar จะแสดงสูตรคำนวณที่กำหนดไว้
        ลำดับความสำคัญของเครื่องหมายทางการคำนวณ        การคำนวณในเครื่องคอมพิวเตอร์กับการคำนวณจากเครื่องคิดเลข ผลลัพธ์ที่ได้จะต่างกัน  เนื่องจากการคำนวณในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจะดูความสำคัญของเครื่องหมายทางการคำนวณด้วย จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ user จะต้องทราบในเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้ผลลัพธ์ที่ต้องการผิดเพี้ยนไปจากปกติ


               ความสำคัญของเครื่องหมายทางการคำนวณ จะไล่จากบนลงล่าง บนสุดจะสำคัญสูงสุด และล่างสุดจะสำคัญต่ำสุดในสูตรคำนวณสูตรหนึ่งถ้าเครื่องหมายใดสำคัญกว่าก็จะทำการคำนวณเครื่องหมาย
        นั้นก่อนแล้วไล่ตามลำดับไปเรื่อยๆ 
        การคำนวณหาผลรวม
        ถ้าต้องการหาผลรวมของตัวเลขหลายๆ ตำแหน่ง ให้คุณใช้ฟังก์ชั่นของการหาผลรวมเข้ามาช่วย มีขั้นตอนดังนี้
        1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแสดงผลลัพธ์ จากตัวอย่างนี้  ตำแหน่งเซลล์อยู่ที่ H4
        2. ที่แท็บ Home คลิกปุ่ม  Sum บนทูลบาร์
        3. จะปรากฏสูตรคำนวณ =SUM(B4:G4) ให้ดูช่วงข้อมูลตัวเลขที่จะคำนวณว่าถูกต้องหรือไม่ สังเกตจากเส้นประวิ่งรอบๆ ข้อมูล ถ้าถูกต้องแล้วกดปุ่ม Enter ถ้าไม่ถูกต้อง drag คลุมช่วงข้อมูลใหม่แล้ว กดปุ่ม Enter
        การสร้างสูตรด้วยฟังก์ชั่นที่ใช้งานบ่อย
               โปรแกรมExcelจะทำการแบ่งชุดของสูตรคำนวณตามประเภทการใช้งานถ้าคุณต้องการใช้สูตรคำนวณประเภทใดคลิกเลือกปุ่มนั้นได้เลย หรือคลิกปุ่ม Insert Function ก็ได้ สูตรคำนวณที่นำมายกตัวอย่างจะเป็นสูตรที่ใช้งานบ่อยๆ มีขั้นตอนดังนี้
        1.เลือกเซลล์ที่ต้องการแสดงผลลัพธ์ จากตัวอย่างนี้ ตำแหน่งเซลล์อยู่ที่ C132.ที่แท็บ Formula จะแสดงประเภทของสูตรคำนวณให้เลือกใช้ ในที่นี้คลิกปุ่มลูกศรลงของ AutoSum


        3.จะปรากฏสูตรคำนวณที่ใช้งานบ่อยๆ ให้เลือก
        Average                                        สูตรการหาค่าเฉลี่ย
        Count Numbers                            สูตรการนับจำนวนข้อมูล
        Max                                             สูตรการหาค่าสูงสุด
        Min                                              สูตรการหาค่าต่ำสุด
        More Functions                            สูตรอื่นๆ 
              
                                 

        4.ในที่นี้เลือกค่าสูงสุด คลิกที่ฟังก์ชั่น Max drag คลุมช่วงข้อมูลตัวเลขที่ต้องการ เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter
        การสร้างสูตรอย่างง่ายพร้อมค่าคงที่
                ในสูตรคำนวณบางครั้งต้องการอ้างอิงค่าตำแหน่งเซลล์เดียว เวลา copy สูตร ไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง เรียกว่า การอ้างอิงแบบ Absolute ในตัวอย่างนี้ต้องการคำนวณหาผลต่าง ระหว่างค่าใช้จ่าย (B3) กับค่าเฉลี่ย (C16) มีขั้นตอนดังนี้
        1.เลือกเซลล์ที่ต้องการแสดงผลลัพธ์ จากตัวอย่างนี้ ตำแหน่งเซลล์อยู่ที่ C32.ใส่สูตรคำนวณ =B3-$C$16 เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter3.ทำการ copy สูตรคำนวณลงมา จะเห็นว่าตำแหน่ง C16 จะเป็นค่าคงที่ตลอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

        ข้อผิดพลาดทั่วไปเมื่อสร้างสูตร
        #VALUE!            หมายถึง ในสูตรคำนวณปกติมีการอ้างอิงตำแหน่งเซลล์ที่เป็นตัวอักษร
        #NAME?             หมายถึง ชื่อฟังก์ชั่นที่ใช้พิมพ์ผิด


        การเรียงลำดับข้อมูล

        ลำดับการจัดเรียงเริ่มต้น
               เมื่อคุณนำงานฐานข้อมูลมาสร้างในโปรแกรม Excel ส่วนใหญ่หลังจากสร้างงานเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะทำต่อไป คือ การจัดเรียงข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้

        1.คลิกตำแหน่งเซลล์ในหัวข้อที่ต้องการจัดเรียง จากตัวอย่างนี้ เลือก เซลล์ใดก็ได้ในหัวข้อ Salary
        2.ที่แท็บ Data หัวข้อ Sort & Filter คลิกปุ่มบนทูลบาร์ เพื่อเลือกเกณฑ์การจัดเรียงSort Smallest to Largest    จัดเรียงจากน้อยไปมาก (A- Z)Sort Largest to Smallest    จัดเรียงจากมากไปน้อย (Z -A)
        การเรียงลำดับข้อมูลในช่วงหรือตาราง
        1.ตำแหน่งเซลล์อยู่ในงาน Database2.คลิกปุ่ม  เพื่อเปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Sort กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม3.ที่ช่อง Sort by เลือกหัวข้อหลักในการจัดเรียงที่ช่อง Order เลือกเกณฑ์การจัดเรียง4.คลิกปุ่ม    เพื่อเพิ่มหัวข้อรอง, หัวข้อที่ 3, 4, 5 ในการจัดเรียง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

        การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

        การสร้างรายการแบบรายการจากช่วงของเซลล์
        1.คลิกปุ่ม Start บนแถบ Task bar

        2.เลือก All Programs  Microsoft Office 

        3.เลือก Microsoft Office Word 2007 จะเปิดให้ใช้งานได้ทันที

        การป้องกันการป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในแผ่นงานเพื่อให้การกรอกข้อมูลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น คุณควรจะกำหนดกฏข้อบังคับในการป้อนข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้1.เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการพิมพ์

        2.ที่แท็บ Data หัวข้อ Data Tools คลิกปุ่ม 

        3.จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์DataValidationที่หัวข้อSettingsให้กำหนดเงื่อนไขในที่นี้กำหนดว่าข้อมูลตัวเลขที่ป้อนจะต้องอยู่ในช่วงตั้งแต่ 8000-40000 เท่านั้น

        4.คลิกหัวข้อ Input Message ระบุข้อความที่ต้องการแสดงเมื่อตำแหน่งเซลล์อยู่ในช่วงนั้น เป็นการบอกให้ user รู้ว่าให้ทำอะไร
        5.คลิกหัวข้อ Error Alert เพื่อกำหนดว่า ถ้า user ป้อนข้อมูลไม่ตรงตามกฎข้อบังคับ ให้แสดง Message และไอคอนเตือนด้วย เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK